ปรึกษาศัลยกรรม

สอบถามราคาและโปรโมชั่น

ปรึกษาศัลยกรรม

สอบถามราคาและโปรโมชั่น

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คืออะไร

         กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอาจเป็นมาแต่กำเนิดอยู่แล้ว หรือเกิดขึ้นภายหลังจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการใส่คอนแทคเลนส์ หรือขยี้ตาเป็นนิสัย บางคนมีตาสองชั้นอยู่แล้ว แต่รู้สึกว่าตาไม่สวย อยากให้ตาสวยขึ้น อยากตาโต หรือคนชอบทักว่าตาดูเหนื่อย ดูง่วงนอนตลอดเวลา ไม่สดใส หรือทำตาสองชั้นมาแล้ว  ตาปรือๆ เพราะอะไร.. ต้องมาให้รู้จักกับ “ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง”

          ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่ลืมตาไม่สุด เปลือกตาด้านบนปิดลงมามากกว่าปกติทำให้เห็นตาดำครึ่งเดียว หรือไม่ครบดวง ทำให้ดูตาปรือ ลืมตายาก หากเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง 2 ข้างจะทำให้เหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา ดูเหนื่อยเพลีย แต่ถ้าเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงข้างเดียวจะเห็นได้ชัดว่าตาไม่เท่ากัน ตาข้างที่เป็นจะตกลงมาปิดตามากกว่า หากปล่อยทิ้งไว้เป็นวลานานอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น และบุคลิกภาพที่ดีของบุคคลนั้น

สาเหตุของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง 

  • เกิดจากพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่มาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งสามารถพบได้มากในเด็กเล็กที่มีปัญหาเรื่องสายตา เช่น ตาขี้เกียจ หรือตาเหล่ 
  • เกิดจากอายุที่มากขึ้น เมื่อคนเรามีอายุที่มากขึ้นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่แสดงอาการออกมาในรูปแบบต่างๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูงอายุ 
  • เกิดจากอุบัติเหตุหรือการผ่าตัดทำตาสองชั้นที่ผิดพลาด จนได้รับการกระทบกระเทือนที่บริเวณเปลือกตา
  • เกิดจากโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประสาทตาโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ โรคประสาทและสมอง

วิธีการแก้ไข กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

             วิธีการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง การผ่าตัดจะลงลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อตา แพทย์จะปรับระดับการยกขึ้นของเปลือกตา จึงจำเป็นต้องทำร่วมกับการทำตาสองชั้น เพราะต้องมีการเปิดแผลจากการทำตาสองชั้นก่อน ช่วยแก้ไขปัญหาคนที่ขอบตาบนลงมาปิดตาดำมากกว่าปกติ ตาปรือ ๆ ดูง่วงนอนตลอดเวลา ตาขี้เกียจ ตาลอย เพื่อให้ได้ดวงตากลมโตสดใส ตาดำเปิดชัดขึ้นโดยที่ไม่ต้องทำชั้นตาใหญ่ๆ 

รีวิวกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

ข้อควรปฏิบัติก่อนการผ่าตัด

– งดอาหารเสริม วิตามิน C,E น้ำมันตับปลา สมุนไพร และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด 1-2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด

– หากมีโรคประจำตัว เช่น ความดันสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลก่อน

– นอนหลับให้เพียงพอ งดน้ำงดอาหารก่อนผ่าตัด

– งดแต่งหน้าในวันผ่าตัดและงดใส่เครื่องประดับทุกชนิด

– เตรียมแว่นตากันแดดมาเอง

– หลังผ่าตัดไม่ควรขับขี่ยานพาหนะเองเพราะการมองเห็นจะไม่100%ต้องมีญาติมาด้วย เพื่อความปลอดภัย

– เตรียมวันหยุด ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้พักหลังผ่าตัด อย่างน้อย 1-2 วัน เพื่อลดการใช้สายตา

ข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัด

– หลังผ่าตัด 48 ชั่วโมงแรก วางเจลประคบเย็นเพื่อให้หายเร็วขึ้น ระวังไม่ให้แผลเปียก

– นอนศีรษะสูงกว่าปกติใน1-2 คืนแรกของการผ่าตัด เพื่อลดอาการบวม

– ทำความสะอาดแผลวันละ 1-2ครั้ง โดยใช้ไม้พันสำลีสะอาดชุบน้ำเกลือ แล้วเช็ดคราบเลือดซึมบริเวณแผล

– ป้ายยาฆ่าเชื้อแบบขี้ผึ้งที่แผลบ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

– ห้ามแผลโดนน้ำอย่างเด็ดขาด จะทำให้แผลติดเชื้อได้

– หลังวันที่ 3 ไปแล้ว หากมีรอยเขียวช้ำ ให้ประคบอุ่น (ระวังไม่ให้ร้อนเกินไป) ช่วยให้หายเร็วขึ้น สามารถสลับกับประคบเย็นได้เพื่อช่วยให้ลดบวมเร็วขึ้น ถ้าไม่มีรอยเขียวช้ำให้ประคบเย็นต่อไป

– ยาละลายลิ่มเลือดหรือวิตามิน สามารถกินได้หลังผ่าตัด 1-2 สัปดาห์

– หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง แอลกอฮอล์ทุกชนิด ไข่ อาหารทะเล 2 สัปดาห์ เพื่อป้องกันแผลนูน

– กินยาฆ่าเชื้อจนหมดที่แพทย์สั่ง ยาแก้ปวดกินเฉพาะเวลามีอาการ

– ออกไปข้างนอกให้ใส่แว่นตากันลมฝุ่น สิ่งสกปรก

– ตัดไหมตามนัด 7 วัน