การผ่าตัดแก้ไขหน้าอก
เป็นการแก้ไขเพื่อปรับรูปทรง ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัดเสริมหน้าอกครั้งก่อนมีปัญหาที่ต้องแก้ไข เช่น การมีขนาดและรูปทรงที่ผิดปกติ การศัลยกรรมเสริมหน้าอกก็มีข้อจำกัดจากหลายสาเหตุ เช่น ความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อและผิวหนัง หรือโครงสร้างหน้าอกในแต่คนไม่เหมือนกัน ขณะเดียวกันการเลือกทำกับศัลยแพทย์ตกแต่งที่มีทักษะและประสบการณ์ที่ไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้การเสริมหน้าอกครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คาดหวัง โรงพยาบาลเอเซียจึงต้องทำการวินิจฉัยอย่างจริงจัง และจำเป็นต้องใช้ศัลยแพทย์ที่มีความสามารถในการผ่าตัด เพื่อให้ได้หน้าอกที่สวยดูดี ตรงใจมากที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้ต้องมีการแก้ไขหน้าอก
- ปัญหาเกิดพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว (Capsular Contracture)
ปัญหาพังผืดหดรัดรอบซิลิโคนหน้าอก เรียกว่าแคปซูล (Capsular) เป็นปฏิกริยาของร่างกายที่สร้างเนื้อเยื้อออกมาห่อหุ้มสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เนื้อเยื้อพังผืดจะมีการพัฒนาเพิ่มความหนา เหนียว แข็ง แล้วรัดถุงเต้านมเทียมแน่นจนทำให้ถุงเต้านมเทียมไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ เกิดเต้านมผิดรูป แข็ง และเจ็บ การผ่าตัดแก้ไขพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว โดยศัลยแพทย์จะผ่าตัดเอาเนื้อเยื้อพังผืดรอบๆถุงเต้านมเทียมออกให้หมด แล้วเปลี่ยนตำแหน่งวางเต้านมเทียมใหม่
2.ปัญหาถุงเต้านมเทียมแตกหรือรั่ว (Leakage and Ruptured)
ถุงเต้านมเทียมที่เป็นวัสดุทางการแพทย์ก็เหมือนกับผลิตภัณฑ์ทั่วๆไป ที่อาจจะเกิดการแตกและรั่วได้ ซึ่งเกิดในกรณีที่ถุงเต้านมเทียมเป็นถุงน้ำเกลือ เมื่อมันแตกออกน้ำเกลือในถุงเต้านมเทียมจะค่อยๆซึมออกจากถุง ทำให้ขนาดเต้านมข้างที่มีการรั่วซึมจะแฟ่บลง ส่งผลให้ขนาดของเต้านมสองข้างไม่เท่ากัน ต้องรีบผ่าตัดเปลี่ยนถุงเต้านมเทียมทันที
3. ปัญหาหน้าอกหย่อนคล้อย (Bottoming out of breast)
หลังเสริมหน้าอกไป มีการวางตำแหน่งถุงเต้านมเทียมอยู่ในระดับที่ต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับตำแหน่งของหัวนม หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหน้าอกมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นน้อย ทำให้ระดับถุงเต้านมเทียมต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็น ในกรณีนี้ต้องเปิดแผลบริเวณใต้ราวนมเพื่อเย็บกระชับกล้ามเนื้อด้านในขอบล่างของเต้านมให้สูงขึ้น เพื่อให้ตำแหน่งเต้านมเทียมที่ใส่เข้าไปใหม่สูงขึ้นได้ระดับเหมาะสมกับตำแหน่งหัวนม
4. ปัญหานมห่าง (Cleavage Breast)
หลังจากผ่าตัดเสริมหน้าอกมาแล้ว เกิดการผิดปกติของเต้านมทั้งสองข้างอยู่ห่างกันมากเกินไป แก้ไขโดยการเปิดแผลใต้ราวนมแล้วเปิดขยายโพรงเข้าสู่แนวกึ่งกลางของทรวงอกมากขึ้น จากนั้นก็เย็บลดขนาดความกว้างด้านข้างของโพรงเดิม เพื่อขยับตำแหน่งของเต้านมเทียมใหม่ เข้าสู่แนวเส้นกลางหน้าอกมากขึ้น ผลการผ่าตัดจะทำให้ร่องหน้าอกแคบลงกว่าเดิม
5. ปัญหานมแฝด ( Symmastia Uniboob)
นมแฝด หรือ นมชิดกัน หลังจากการผ่าตัดเสริมหน้าอกไปแล้ว มีลักษณะที่เต้านมชิดกันมากเกินไป แทบไม่มีร่องอก การผ่าตัดแก้ไขทำโดยเปิดแผลใต้ราวนม แล้วขยายโพรงให้ออกไปด้านข้างมากขึ้น และเย็บแก้ไขกล้ามเนื้อด้านในร่องหน้าอก ทำให้หน้าอกมีร่องกว้างขึ้น
รีวิวแก้ไขหน้าอก
การเตรียมตัวก่อนการศัลยกรรมเสริมหน้าอก
- งดแอลกอฮอล์ก่อนทำศัลยกรรม
- งดวิตามินทุกชนิด มีผลต่อการพักฟื้นหลังทำศัลยกรรม 1 สัปดาห์
- การเสริมหน้าอก เปิดแผลที่ใต้ราวนม แผลเล็ก ไม่เป็นคีลอยด์
- ต้องตรวจร่างกายก่อนศัลยกรรม
- ใช้ระยะเวลาผ่าตัดประมาณ 1 ชม.
- ซิลิโคนหน้าอก มีให้เลือกครบทุกไซส์ สามารถปรึกษาศัลยแพทย์ก่อนตัดสินใจได้
- เสริมหน้าอกปัจจุบัน แผลเล็ก เจ็บน้อย ไม่ต้องค้างคืน สามารถกลับบ้านได้หลังทำทันที
- ควรเข้าพบแพทย์ตามวันนัดหมายอย่างเคร่งครัด
การดูแลตัวเองหลังเสริมหน้าอก
- ควรนอนยกศีรษะและลำตัวสูงเล็กน้อยหลังผ่าตัดเพื่อลดการบวมตึงของแผล
- ไม่ควรนวดแรงๆก่อนตัดไหม
- ต้องใส่สปอร์ตบราหรือซัพพอร์ตบราหลังตัดไหมเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
- ไม่ควรยกของหนักอย่างน้อย 1 เดือน
- ออกกำลังกายได้หลังจากผ่าตัดอย่างน้อย 1 เดือน
- แผลไม่ควรโดนน้ำ 7วัน
- เข้าพบแพทย์ตามกำหนดอย่างเคร่งครัด