ศัลยกรรมเสริมคาง
การเสริมคางในปัจจุบันค่อนข้างได้รับความนิยม เพราะช่วยให้ใบหน้าดูเรียวยาว ดูเด็กลง การทำคางสามารถปรับปรุงแก้ไขใบหน้าให้ได้สัดส่วน ช่วยให้โครงหน้าเปลี่ยนไป เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหารูปหน้าไม่ได้สัดส่วน ใบหน้ากลม คางสั้น เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อความมั่นใจ บุคลิกภาพของหลาย ๆ คน การเสริมคางด้วยซิลิโคน โดยแพทย์จะใส่ซิลิโคนคางสำเร็จรูป บริเวณคางของคนไข้ โดยซิลิโคนที่ใช้ได้รับการรับรองและมีมาตราฐานที่ทางการแพทย์ใช้ ซึ่งมีความนิ่มและมีหลากหลายไซส์โดยแพทย์จะพิจารณาดีไซน์ให้เข้ากับรูปหน้าคนไข้มากที่สุด
ศัลยกรรมเสริมคาง เหมาะกับใคร?
- ผู้ที่มีปัญหาคางหลุบ คางสั้น รูปหน้าไม่ได้สัดส่วน ขาดมิติของใบหน้าส่วนล่าง
- ผู้ที่มีคางสั้น คางเล็ก คางไม่มีความนูน หรือคางร่นมาด้านหลัง
- ผู้ที่มีใบหน้าดูกลม หน้าสั้น ส่วนกลางของใบหน้าดูกว้าง ซึ่งเป็นรูปลักษณ์ที่ไม่สวยงาม
การเสริมคางด้วยซิลิโคนทางการแพทย์ มีอยู่หลักๆ 2 ลักษณะ
1.ซิลิโคนขาสั้น
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องเน้นเฉพาะบริเวณปลายคางให้ยาวขึ้น และมีพื้นฐานโครงสร้างคางค่อนข้างดีเป็นทุนเดิม และต้องการปรับสัดส่วนบนใบหน้าให้สมบูรณ์มากขึ้น ใบหน้าดูยาวขึ้น จึงควรใช้ซิลิโคนที่มีลักษณะนิ่ม ปานกลาง
2.ซิลิโคนขายาว
จะมีขาวางโค้งครอบไปบนกระดูกปลายคางเพื่อให้ซิลิโคนอยู่ในองศาเดียวกับกรอบหน้าพอดี ทำให้ไม่เป็นรอยต่อเกิดขึ้นระหว่างแก้ม-คาง ตัวขาซิลิโคน จะช่วยล็อคไว้ ไม่ให้ห้อยย้อยตกลงมาใต้คาง ครอบล็อคกระดูกคาง ป้องกันคางเบี้ยวเอียง
ซิลิโคนขายาว เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาคางตัด คางบุ๋ม คางถอย คางเหลี่ยมมากๆ ตัวซิลิโคนจึงต้อง ครอบคลุมถึงรอยต่อแนวกราม รับกับกรอบหน้า ทำให้รูปหน้าได้สัดส่วนมากขึ้น
เสริมคางแผลนอก
วิธีนี้ศัลยแพทย์จะทำการเปิดแผลภายนอกบริเวณใต้คางประมาณไม่เกิน 3 ซม. แล้วใส่ซิลิโคนเข้าไปในตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้นทำการเย็บปิดแผล ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงในการผ่าตัด
ข้อดีของการเสริมคางแผลนอก
- ปรับรูปคางได้หลายองศา สามารถตกแต่งผิวหนังใต้คางได้ และวางตำแหน่งซิลิโคนได้แม่นยำมากกว่า
- ดูแลง่าย แผลหายเร็ว
- ไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาท
- มีโอกาสติดเชื้อน้อย ทำให้การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดง่ายและสะดวกกว่า เพราะแผลมีขนาดเล็ก
ข้อเสียเสริมคางแผลนอก
- อาจเกิดรอยแผลเป็น หรือ แผลเป็นนูน (คีลอยด์)
เสริมคางแผลใน
วิธีนี้ศัลยแพทย์จะทำการเปิดแผลด้านในของปาก ตรงซอกเหงือกกับริมฝีปากล่าง ความยาวของแผลประมาณ 2 ซม. แล้วแต่ขนาดของซิลิโคน หลังจากนั้นแยกเยื่อหุ้มกระดูกคางตรงขอบล่างขึ้นมา แล้วจึงวางแท่งซิลิโคนเขาไปให้พอดีกับตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้นเย็บปิดแผลด้วยไหมละลาย ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง
ข้อดีของการเสริมคางแผลใน
- มองไม่เห็นรอยแผลเป็นด้านนอก
ข้อเสียเสริมคางแผลใน
- แผลจะค่อนข้างกว้าง
- เนื่องจากแผลอยู่ในร่องเหงือกมีโอกาสติดเชื้อจากการสัมผัสกับน้ำลายหรือเศษอาหาร
- มีโอกาสที่ซิลิโคนเคลื่อนที่สูงเพราะการหดตัวของกล้ามเนื้อในบริเวณนั้น
รีวิวเสริมคาง
การเตรียมตัวก่อนศัลยกรรมเสริมคาง
- ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร เนื่องจากเป็นการผ่าตัดโดยใช้ยาชาเฉพาะที่เท่านั้น ไม่ต้องดมยาสลบ แต่ก็ไม่ควรทานจนอิ่มเกินไป ป้องกันอาการแน่นอึดอัดท้องระหว่างการผ่าตัด
- งดกลุ่มยาที่จะมีผลต่อการหยุดเลือด เช่น แอสไพริน อย่างน้อยสองสัปดาห์ก่อนการผ่าตัด หยุดรับประทานสมุนไพรวิตามินอาหารเสริมต่างๆ เพราะอาจเป็นเหตุให้เลือดออกง่าย และออกมากกว่าปกติ
- หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางบริเวณใบหน้า
- แปรงฟันทำความสะอาดช่องปากให้พร้อมก่อนการผ่าตัด
- งดหรือเลิกสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 4 สัปดาห์ ก่อนและหลังผ่าตัด เพราะมีผลต่อการหายของแผล ทำให้แผลหายช้า เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- แจ้งโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยารับประทาน ยาชา หรือยาสลบ ให้แพทย์ทราบ
- เตรียมภาวะจิตใจให้พร้อม ไม่ตื่นเต้นมากกว่าความเป็นจริง และควรรับทราบว่าหลังการผ่าตัดมีโอกาสเกิดรอยช้ำและการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องใช้เวลาในการเข้าที่หรือความเคยชินกับภาพลักษณ์ใหม่
วิธีดูแลตัวเองหลังเสริมคาง
- ในช่วง 5 วันหลังผ่าตัด แนะนำให้ประคบด้วยน้ำแข็งเพื่อลดความเจ็บปวดและป้องกันการบวมโดยวางถุงประคบรอบๆ คาง
- ในช่วงวันที่ 6 หลังผ่าตัด แนะนำให้ประคบร้อนเพื่อลดลดอาการบวมช้ำบริเวณรอบๆ คาง
- นอนศีรษะสูง และห้ามนอนตะแคงหรือนอนคว่ำ เพราะเนื่องจากอาจไปกดทับบริเวณคางที่ยังอักเสบอยู่
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ครบอย่างเคร่งครัด
- ขณะรับประทานอาหารในช่วง 1 อาทิตย์แรกแนะนำให้ทานโดยหลอดดูดอาหาร(ในกรณีทำแผลใน) เพื่อป้องกันเศษอาหารตกลงไปในบริเวณแผล
- มาตามนัดที่ได้รับจากทางโรงพยาบาล ห้ามแกะพลาสเตอร์ หรือตัดไหมออกเองก่อนกำหนด
- ทำความสะอาดใบหน้าด้วยผ้าเปียกเช็ด หรือทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวแทนการล้างหน้า
- อาการบวมเขียวช้ำอาจมีขึ้นได้หลังผ่าตัด โดยเฉพาะในช่วง 1-2 อาทิตย์แรก และจะดีขึ้นเรื่อยๆ ใน 3-4 เดือนกว่าเนื้อเยื่อจะกลับมาใกล้เคียงปกติ บางรายอาจต้องใช้เวลานาน 6 เดือน ถึง 1 ปี
- หลีกเลี่ยงการก้มหน้ามากๆ เช่น นั่งอ่านหนังสือ เล่นคอมฯ ยกของหนัก ส่ายหน้าหรือเอียงหน้าแรงๆ โดยเฉพาะ 2 อาทิตย์แรก
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และสูบบุหรี่ประมาณ 3 เดือน
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารทะเล ของหมักของดอง อาหารรสจัด และอาหารที่คบเคี้ยวยากในช่วง 1 เดือนแรก
- สามารถออกกำลังกายหนักๆ เช่น วิ่ง หรือว่ายน้ำ ประมาณ 3 เดือนขึ้นไป
- หากมีความผิดปกติอื่นๆ สามารถโทรมาปรึกษาที่โรงพยาบาลได้ทันที